ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
งานในองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดเล็ก
ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องมีข้อมูลของการทำงาน หรือข้อมูลทางธุรกิจในลักษณะต่าง
ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจมีทั้งข้อมูลพนักงาน
ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้นข้อมูลขององค์การดังกล่าวยังอาจมีความสำคัญมากน้อยต่างกัน
มีผู้ใช้ข้อมูลเฉพาะกลุ่ม หรือทุกกลุ่มได้ตามความจำเป็นและตามลำดับชั้นความลับ สิ่งสำคัญคือ
ข้อมูลขององค์การหนึ่งย่อมมีความเกี่ยวข้องกันและควรที่จะนำมารวมไว้ใน “ฐานข้อมูล” (Database)
ความหมาย
มีคำอธิบายความหมายของ “ฐานข้อมูล” อยู่มากมายหลายคามหมาย
ตัวอย่างเช่น
ฐานข้อมูลอาจถือได้ว่าเป็นตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง
เช่น เป็นที่รวมหรือเป็นที่บรรจุแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง
เป็นต้น (A database can be regarded as a kind
of electronic filing cabinet.)
ฐานข้อมูลเป็นชุดของข้อมูลที่คงทน (Persistent Data) ซึ่งถูกเรียกใช้โดยระบบโปรแกรมของกิจการใดกิจการหนึ่ง
(A database is a collection of persistent data that is used by the
application systems of some given enterprise.) ข้อมูลจะคงทนอยู่ในฐานข้อมูลเพราะเมื่อระบบจัดการฐานข้อมูลรับข้อมูลนั้นเข้าสู่ฐานข้อมูลแล้ว
ใครจะขจัดหรือเอาข้อมูลออกไปจากฐานข้อมูลได้ต้องมีการร้องขอต่อระบบจัดการฐานข้อมูลเท่านั้น
ตัวอย่างข้อมูลที่คงทนในฐานข้อมูล เช่น
กิจการ
ข้อมูลคงทน
บริษัทผู้ผลิตสินค้า
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ธนาคาร
ข้อมูลบัญชี
โรงพยาบาล
ข้อมูลผู้ป่วย
มหาวิทยาลับ ข้อมูลนักศึกษา
หน่วยราชการ
ข้อมูลการวางแผน
ที่มา : http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5012/P_1/DB/B1.htm