วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย


ประโยชน์ของระบบเครือข่าย




1.             สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้ 
                           ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ  หากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว

     2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้
                 เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันได้

3.             สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้ 
            เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย

4.             การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้ 
               เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
     5การแชร์อินเทอร์เน็ต  ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้  โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet  Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง  ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
     6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้น
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย




  ที่มา : http://203.172.224.138/~mwn/ict/network/n1_1.html

ความหมายของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต



         อินทราเน็ต  (Intranet)

                     คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 




      เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) 

                คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้
       ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป






 ที่มา : http://kang1608.blogspot.com/2011/08/blog-post_23.html

การทำธุรกิจออนไลน์

รูปแบบธุรกิจออนไลน์ ทำง่ายๆ ด้วยตัวคุณ
     
ธุรกิจออนไลน์ คืออะไร
       ธุรกิจออนไลน์ หรือ  E-Commerce  คือ
            การทำธุรกิจการค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ   เมื่อผู้ซื้อหรือลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าดังกล่าวก็จะจ่ายค่าสินค้าได้ทันทีผ่านระบบบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่ร่วมรายการ จากนั้นเว็บไซต์หรือแหล่งนำเสนอสินค้าในอินเตอร์เน็ตก็จะตัดสินค้าออกจากคลังและจัดส่งสินค้านั้นไปถึงมือลูกค้า ซึ่งในการทำอีคอมเมิร์ซหรือธุรกิจออนไลน์นี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การทำเว็บไซต์หรือช่องทางการจำหน่ายสินค้าขึ้นมาเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยจะสามารถทำการค้าขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจเพราะง่ายต่อการโฆษณาสินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และยังสามารถโฆษณาไปถึงประเทศอื่นๆ ได้อีกด้วย

Website
       การทำธุรกิจออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์นั้น โดยมากจะเป็นการขายสินค้าผ่านออนไลน์ ถ้าคุณมีสินค้าพร้อมอยู่แล้วและเมื่อคิดจะเริ่มธุรกิจลักษณะนี้ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรมี หนีไม่พ้นเลยก็คือ Website ของตัวคุณหรือเปิดขึ้นมาในนามร้านค้าของเราก็ได้ เพราะการมีเว็บไซต์เป็นหลักแหล่งเป็นตัวช่วยเรียกความเชื่อมั่น ความน่าเชื่อถือในตัวสินค้าจากลูกค้าได้ อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการทุกๆ ส่วนได้ด้วยตัวเอง ถ้าเป็นเมื่อก่อนบางคนอาจจะต้องอาศัยการจ้างทำเว็บไซต์ เนื่องจากการทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองยังเป็นเรื่องยาก ส่วนเรื่องราคาก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับระบบต่างๆ ที่เราต้องการนำเสนอให้ลูกค้าได้เห็น
             นอกจากนี้ภายในเว็บไซต์ได้มีการแยกสินค้าไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการเลือกดูสินค้า มีระบบการสั่งซื้อที่คลิกแล้วลากได้เลย  แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการค้าขายออนไลน์ต่างประเทศ แต่ด้วยแนวคิดการทำธุรกิจออนไลน์ มุมมองต่างๆ ที่น่าสนใจนี้โดดเดนและประสบความสำเร็จจนต้องปรบมือให้ เลยขอเอามาบอกเล่าไว้ให้ผู้สนใจมองไว้เป็นตัวอย่างในการทำธุรกิจออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ค่ะ 


Social Media
       เป็นสื่อในสังคมออนไลน์ที่ปัจจุบันคนไทยต่างนิยมใช้งานกันมากและมีการใช้งานในรูปแบบการสื่อสารสองทาง (Interactive) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Social Media ประเภทต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สามารถเข้ามาแบ่งปันความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ให้แก่กันได้อย่างอิสระและสามารถโต้ตอบแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างทันทีทันใด ทำให้ไม่พลาดทุกการสื่อสาร
     หลังจากที่คุณมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเรียบร้อยแล้ว  การทำ Social Media Marketing นี้จะช่วยดันให้เว็บไซต์ของคุณขยับขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นในเว็บไซต์ของ Google ได้ ข้อดีของการทำการตลาดบนสังคมออนไลน์นี้ยังสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย รวดเร็วทันใจ และช่วยในการ PR หรือประชาสัมพันธ์ เพราะมีระบบการแชร์ที่กระจายข้อมูลให้คนรู้ในวงกว้างและเกิดการบอกต่อในหมู่มากได้อย่างง่ายดาย ซึ่งการทำการตลาดแบบ Social Media Marketing ก็ไม่ได้ทำได้แค่ในเฉพาะเว็บไซต์ Facebook  , Twitter เท่านั้น แต่ยังสามารถโปรโมทเว็บไซต์หรือแบรนด์สินค้าผ่านทาง Youtube, Flickr หรือ Blog ต่างๆ  ได้ด้วย แนะนำค่ะอย่าง Blog ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่คุณสามารถเขียนบทความต่างๆ ได้โดยง่าย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML คุณก็สามารถทำได้แล้ว ปัจจุบันก็จะพบอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
1 .Executive Blog การใช้บล็อคที่เขียนด้วยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า CEO Blog อันนี้เป็นการสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้าค่ะ
2. Company Blog การใช้บล็อคโดยตัวแทนของบริษัท บอกสิ่งที่เป็นไปหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ข้อดีของบล็อคลักษณะนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างแบรนด์ นำเสนอภาพลักษณ์ บอกเล่าความเป็นตัวตนของบริษัทได้ค่ะ
       รูปแบบสุดท้ายน่าจะเป็นรูปแบบของการใช้ Blog ในการทำธุรกิจออนไลน์ขนาดเล็กได้อย่างเหมาะสมที่สุดนะคะ เพราะเป็น Product Blog คือ การใช้บล็อคอย่างเฉพาะเจาะจงที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่จัดจำหน่าย พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างอิสระ  เห็นได้ตามทั่วไปจากบล็อคที่ขายสินค้าผ่านการรีวิวิสินค้า หรืออย่าง Youtube ซึ่งถือว่าเป็น Social Media Sharing ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่แสนสะดวกนะคะ ให้คุณสามารถอัพโหลดรูปภาพ วิดีโอ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการในธุรกิจออนไลน์ของคุณ แบ่งปันไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการได้อีกด้วย การทำการตลาดแบบ Social Media Marketing นี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณามากกว่าการโฆษณาแบบอื่นๆ ค่ะ เพราะเป็นการเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสาร โดยลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าหรือบริการได้ ตลอด 24 ชม. อย่างที่ทราบกันว่าโลกอินเตอร์เน็ตไม่เคยหลับใหล
       ธุรกิจออนไลน์ผ่าน Social Media นั้นเป็นรูปแบบการทำธุรกิจที่ง่ายสุดๆ คุณสามารถสร้างแบรนด์หรือตัวสินค้า สร้างบริการของธุรกิจของคุณให้เป็นที่รู้จัก พร้อมๆ กันนั้นยังได้ประชาสัมพันธ์และเป็นช่องทางในการสำรวจทัศนคติและ Feedback จากลูกค้า โดยสำรวจได้จากคอมเม้นท์ต่างๆ เป็นผลดีต่อการพัฒนาธุรกิจออนไลน์ของคุณในอนาคตต่อไปได้

Marketplace
            บางคนที่พอรู้จักอาจจะกำลังสงสัยว่าแล้วแตกต่างจากการสร้าง Website อย่างไร คำตอบก็คือแตกต่างในส่วนที่ว่า การสร้าง Website ก็คือการสร้างเว็บเพื่อนำเสนอสินค้าของคุณโดยตรงแต่ Marketplace  หรือ E-Marketplace นี้คือ การสร้างตลาดกลางขึ้นมา เพื่อรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัทมาไว้ที่เดียวกันค่ะ พูดง่ายๆ ก็คือ เหมือน ebay ที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันอย่างดี มีลูกค้ากลุ่มหนึ่งค่ะที่เป็นขาประจำของ Marketplace สาเหตุที่พวกเขายังนิยมการซื้อหรือค้นหาสินค้าที่ต้องการผ่านช่องทางดังกล่าวก็เพราะ Marketplace ช่วยลดเวลาในการค้นหาข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับสินค้าที่กำลังสนใจ ลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ลดเวลาในการติดต่อ ซื้อขายแลกเปลี่ยน การตัดสินใจในการทำการซื้อขายโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาออกมานัดเจอกันนอกสถานที่ รวมถึงยังมีประโยชน์ในด้านลูกโซ่การซัพพลายของอุตสาหกรรม เพราะลูกค้าสามารถรู้ได้ว่ามีสินค้าอะไรขายบ้าง ราคาเท่าไหร่ เช่นเดียวกับผู้ขายสินค้าค่ะที่ก็จะรู้ได้ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการสินค้าอะไร ในปริมาณเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยคุณในการบริหารจัดการลดสินค้าที่สามารถเกิดการค้างสต๊อกในธุรกิจออนไลน์ของคุณได้ค่ะ 


 Drop Shipping
        Drop Shipping คือการทำธุรกิจออนไลน์โดยที่คุณนำข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ไม่ได้อยู่กับเรา (อาจจะเริ่มงง) มาใส่ไว้ในเว็บไซต์ที่ตนเองสร้างขึ้นเพื่อทำการโปรโมทสินค้า จนได้รับการติดต่อเข้ามาแล้วจึงค่อยสั่งสินค้าไปยังผู้ขายสินค้าจริงๆ (ไม่งงแล้วใช่มั้ยคะ) แปลง่ายๆ ค่ะ ก็คือ การเป็นนายหน้าสินค้าชนิดต่างๆ นั่นเอง เพียงแต่อันนี้ไม่ได้เป็นการแปะลิ้งค์อย่างที่พบเห็นกันทั่วไปจนน่ารำคาญใจ แต่เป็นการขายสินค้าโดยตรงเพียงแต่สินค้าจะยังไม่ได้อยู่ที่เราในเริ่มแรก เป็นธุรกิจออนไลน์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากเริ่มธุรกิจออนไลน์แต่ยังขาดเงินทุนในการจัดหาซื้อสินค้ามาไว้เป็นสต็อกก่อน สำหรับคนที่สนใจธุรกิจออนไลน์รูปแบบนี้จะต้องทำการติดต่อและตกลงกับผู้ขายที่มีสินค้านั้นๆ ก่อนนะคะเพื่อให้ได้ราคาทุนหรือราคาส่ง เมื่อตกลงกันได้แล้วจึงค่อยนำข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวมาใส่ในเว็บไซต์ของตัวเอง จนเมื่อมีลูกค้าสนใจติดต่อสั่งซื้อเข้ามาค่อยแจ้งไปยังผู้ขายสินค้าที่มีสต็อกให้จัดส่ง รายได้ก็จะมาจากกำไรที่หักจากต้นทุนหรือราคาส่งนั่นเอง จะเห็นได้ว่า Drop Shiping มีข้อดีในแง่ของเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขายสินค้าแต่ไม่มีทุนในการสต็อกสินค้า และไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องของการจัดส่งสินค้าอีกด้วย

   ที่มา : http://socialintegrated.com

(Input Unit)



ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


             ส่วนรับข้อมูล(Input Unit)





หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

        ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/icon.gif อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ
 -  แป้นอักขระ (Character Keys)
 -  แป้นควบคุม (Control Keys)
 -  แป้นฟังก์ชัน (Function Keys)
 -  แป้นตัวเลข (Numeric Keys)



http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/icon.gif อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น



http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/icon.gif จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)


http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/icon.gif ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)


http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/icon.gif อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)


http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/pic/icon.gif อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)








ที่มา : http://www.bpic.ac.th/computer/pest4.html



การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต



  การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต




การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
     เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
  • เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation

เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
  • สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต 
     การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Routerทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการ เชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอ ที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง
การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือ ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อิน เตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าISPมีสมาชิก มากน้อยเท่าไร

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
- การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งาน มีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งาน เป็นแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)




ที่มา : http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/in6pag2.html


มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต


มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต
   



โปรโตคอล (Protocol)
            โปรโตคอล คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง

ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address)                        
           เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)
  
โดเมนเนม (Domain Name)
          เป็นระบบที่นำตัวอักษร ที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรส ที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ
  
ความหมายโดเมนเนม
โดเมนเนม             ความหมาย
com กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
edu กลุ่มการศึกษา (Education)
gov กลุ่มองค์กรรัฐบาล (Governmental)
mil กลุ่มองค์กรทหาร (Military)
net กลุ่มองค์การบริหาร (Network Service)
org กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)
      โดเมนเนม ที่แสดงข้างบนนี้ เป็นองค์กรที่จดทะเบียนโดเมนเนมไว้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น www.hotmail.com เป็นต้น ส่วนโดเมนเนมที่ตั้งในประเทศอื่น ๆ จะมีตัวย่อเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งชุด คือ ตัวย่อของประเทศนั้น ตัวอย่างเช่น www.moe.go.th คือองค์กรรัฐบาลที่อยู่ในประเทศไทย
  
ความหมายโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ
โดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ         ความหมาย
au                                      ออสเตรเลีย (Australia)
fr                                       ฝรั่งเศส (France)
th                                      ไทย (Thailand)
     
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์
         โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้ง่าย แต่การทำงานจริง ของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรส อย่างเดิม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบ ที่จะทำการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่าโดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server)
แสดงเครื่อง DNS SERVER แปลงโดเมนเนมเป็นไอพีแอดเดรส
  
ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ
เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ
                                            
www.hotmail.com/data.html


                            www คือ การแสดงว่าขณะนี้กำลังใช้บริการ www
                            hotmail คือ โดเมนเนมของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่
                                      data.html คือ ตำแหน่งของไฟล์ที่เก็บเว็บเพจหน้านั้นอยู่

  
ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์

เว็บเพจ(Web Page) 
    คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ ได้

เว็บไซต์ (Web Site) 
     คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com

โฮมเพจ (Home Page)  
     คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชมเว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) 
      เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่งไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูลต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet Explorer และ Opera โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer

ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) 
      เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัสคำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่มความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น

WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get)
      โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพ หรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การสร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น
   




ที่มา : http://forum.datatan.net/index.php?topic=361.0;prev_next=next

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

ระบบการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต




   การสื่อสารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต






                การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้หลายทางด้วยกัน ดังนี้

1.  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
                เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมากเพียงเท่ากับค่าโทรศัพท์เท่านั้น

2.  การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web: www.)
                เป็นการสื่อสารที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลแบบกราฟิกได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ข้อมูลต่างๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ Hypertext Link
                การที่จะเข้าไปอ่านข้อมูลเหล่านี้ได้ ผู้ใช้จะต้องมี Web Browser ซึ่งนิยมใช้กันในขณะนี้ได้แก่ Netscape Navigator และ Internet Explorer ปัจจุบันได้มีการประยุกต์กิจกรรมอื่นไว้ภายใน World Wide Web ด้วย อาทิ การโฆษณากิจกรรม รวมถึงความบันเทิงต่างๆ เช่น การดูหนังฟังเพลง และชมรายการต่างๆ ทางสถานีโทรทัศน์
เช่น 
           




  




3.  การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP)
                เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่างๆ จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP Siteเก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้บริการ
                การเข้าไปขอถ่ายโอนข้อมูลนั้น ผู้ใช้ต้องทราบชื่อเครื่องที่ตั้งเป็น FTP Server และสิทธิที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำ FTP

4.  การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Usenet)
                มีที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศคือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน

5.  การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Telenet)
                เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้

6.  การสนทนาผ่านเครือข่าย (Talk หรือ Chat)
                เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ ทาง คือ สามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk ซึ่งเป็นการพิมพ์โต้ตอบระหว่างคนสองคน Internet phone เป็นการคุยกันด้วยเสียงแบบเดียวกับโทรศัพท์ และ IRC (Internet Relay Chat)


7.  บริการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ต
                เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของข้อความสั้นๆ (Short Message) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์สื่อสารประเภทไร้สาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเพจเจอร์ เป็นต้น

8.  Remote Login
                เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่าน Telenet เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล และคอมพิวเตอร์นั้นค้นหาสารสนเทศ แหล่งบริการสารสนเทศ เช่น รายการบัตรของห้องสมุด (Online Public Access Catalog: OPAC) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดแต่ละแห่งทั่วโลกจัดทำขึ้น และเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย
                                            



ที่มา: http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/oninter.htm